เทคนิคถ่ายภาพนี้ไม่ว่าเราจะเป็นมือใหม่หรือว่าจะเป็นคนที่มีประสบการณ์ถ่ายภาพมาบ้างแล้ว แต่เชื่อว่าทิปส์ทั้ง 10 อย่างนี้จะช่วยปรับปรุงการถ่ายภาพของเราให้ออกมาดีขึ้นแบบง่าย ๆ กันเลยทีเดียว ซึ่งเป็นพื้นฐานหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องการถ่ายภาพมากขึ้น
1.ลองหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์และปรับโหมดเป็น HDR
สมัยนี้กล้องมือถือจะพยายามใส่ฟังชั่น HDR (High Dynamic Range) เข้ามา ซึ่ง HDR นี้ก็คือการถ่ายโดยเก็บรายละเอียดในภาพทั้งส่วนมืดและสว่างให้มีรายละเอียดครบถ้วน ไม่มืดบางส่วน หรือสว่างจ้าเกินไปในบางส่วนนั่นเอง ทำให้แก้ปัญหาการถ่ายภาพย้อนแสงได้ดีในระดับหนึ่งเลย แต่โหมดนี้มันก็มีข้อจำกัดอยู่เวลาที่เจอแดดแรง ๆ มีความสว่างตัดกับความมืดอย่างรุนแรง
ฉะนั้น ถ้าเราหาเวลาที่แดดไม่แรงมากนัก เช่นช่วงเย็น เราก็จะได้ภาพสวย ๆ ของเราที่มีฉากหลังเป็นท้องฟ้าหลากสีสันอย่างไม่ยากเย็นนัก ยิ่งกับกล้องมือถือสมัยนี้แล้ว โปรแกรมทำภาพอัตโนมัติฉลาดมาก ๆ จนบางทีเราก็ยังคิดเลยว่ามันเก่งกว่าเราที่ใช้โปรแกรมแต่งภาพราคาแพง ๆ เสียอีกในบางกรณี
2.กฎสามส่วน หรือ จุดตัดเก้าช่อง
กฏนี้ช่วยให้เราถ่ายภาพที่น่าสนใจ สะดุดตาได้ โดยกฎสามส่วน และจุดตัดเก้าช่องนี้ เป็นพื้นฐานที่ยังไงก็ต้องสัมผัสและเข้าใจให้ได้ ซึ่งภาพที่ดูน่าสนใจนั้นใช้การจัดองค์ประกอบภาพโดยใช้กฎสามส่วน และจุดตัดเก้าช่องแทบทั้งนั้นเลย ในการใช้ Rule of Third ให้เราจินตนาการถึงเส้นสี่เส้น แนวนอนสอง และแนวตั้งสอง โดยทั้งหมดนี้จะสร้างเป็นตาราง 9 ช่องด้วยกัน
ซึ่งการจัดวางตำแหน่งที่เหมาะสมนั้นก็ตามนั้นเลย ที่เราเรียกจุดตัดเก้าช่องเพราะเราจะวางวัตถุหรือสิ่งที่น่าสนใจไว้ตรงจุดตัดนั่นแหละ ไม่ว่าเราจะถ่ายภาพต้นไม้ ขอบฟ้า ถ้าเราวางจุดสนใจไว้ตรงจุดตัดก็จะทำให้คนดูเพ่งความสนใจไปตรงนั้นนั่นเอง ซึ่งการใช้กฎสามส่วนหรือ Rule of Third นี้ เป็นเรื่องจำเป็นมาก ๆ สำหรับการเริ่มต้นถ่ายภาพให้ดูสมดุลและมีความน่าสนใจ
3.หลีกเลี่ยงการที่ทำให้กล้องสั่นไหว การทำให้เกิดภาพเบลอ
ขั้นแรก เราก็ต้องเรียนรู้การถือกล้องอย่างถูกต้อง (เบสิกสุด) ใช้มือทั้งสองข้างถือกล้องไว้ ด้านขวาจับที่กล้องและ Grip ให้กระขับมือ ส่วนมือซ้ายประคองเลนส์ไว้ อันนี้พื้นฐานหลายคนก็รู้แล้วแหละ แต่ก็ยังมีอีกเรื่องนึง
การถ่ายภาพด้วยการถือกับมือเปล่า ๆ ควรตรวจสอบว่าเราใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมกับทางยาวโฟกัสของเลนส์เราไหม หากความเร็วชัตเตอร์ของเราช้าเกินไป การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นตัวกล้องเอง หรือมือเรา มันก็จะทำให้ภาพออกมาเบลอ กฎง่าย ๆ ที่ไม่ควรลืมคือ ถ้าจะถือด้วยมือเปล่าอย่าใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำกว่าทางยาวโฟกัส
4.ถ่ายช่วงเวลาทอง
หลาย ๆ คนพยายามจะถ่ายภาพช่วงกลางวันที่แดดจัด ๆ และเกิดความสงสัยมาตลอดว่า ทำไมภาพที่ถ่ายออกมาดูแข็ง ๆ แสงไม่สวยเลย ดูภาพไม่มีชีวิตชีวา
ให้ลองเปลี่ยนเวลาถ่ายรูปโดยไปถ่ายช่วงเวลาก่อนที่พระอาทิตย์จะตกดิน หรือที่คนทั่ว ๆ ไปเรียกว่าตอนเย็นนั่นแหละ ถ้าเป็นในประเทศไทยก็คือราว ๆ 5 โมงเย็น ช่วงเวลานี้ ถ้าเป็นวันที่มีแดด แสงแดดจะนุ่มเนียนตามากกว่าเวลาอื่น ๆ และเมื่อเราถ่ายรูปออกมา ภาพจะออกโทนเหลือง ๆ แดง ๆ คอนทราสของภาพก็จะสวยงามลงตัว เราเรียกเวลาช่วงนี้ว่า เวลาทอง
5.ใช้ POLARIZE FILTER หรือฟิลเตอร์สำหรับตัดแสงสะท้อน
ฟิลเตอร์สำหรับตัดแสงสะท้อนหรือว่า PL Filter จะทำให้ภาพของเราลดการสะท้อนจากโลหะและแก้วลง แล้วยังเพิ่มสีสันให้กับท้องฟ้า ทำให้ภาพของเราดูมีสีสันและมีมิติมากขึ้น สำหรับคนที่ไม่เคยใช้ผมแนะนำลองหามาใช้ดูครับ รับรองว่าภาพที่ได้ โทนสี รายละเอียดภาพที่เคยหายไปเพราะแสงสะท้อน จะกลับมา และทำให้ภาพของเรามีรายละเอียดที่เยอะมากขึ้น
6.ลองหามุมที่แตกต่าง
เบื่อไหมที่ไปสถานที่เดิม ๆ ซ้ำ ๆ ก็ถ่ายออกมาแต่มุมเดิม ๆ หรือบางทีก็เหมือน ๆ กับคนอื่น ๆ จนแยกไม่ออกว่ารูปของเรามันพิเศษอย่างไร ลองยกกล้องขึ้นเหนือระดับสายตา หรือกดกล้องลงต่ำกว่าระดับสายตาดูสิ มุมมองที่ได้ออกมาจะดูน่าตื่นตาตื่นใจกว่าเดิมมากเลยทีเดียว นั่นเพราะเป็นมุมที่ปกติเราไม่ค่อยได้เห็นอย่างไรล่ะ
7.ถ่ายภาพให้เห็นความชัดของฉากหลัง
สื่อถึงมิติที่ลึกลงไป โดยเฉพาะการถ่ายภาพวิวกับคน เมื่อเราถ่ายภาพทิวทัศน์ (ภาพวิวนั่นแหละ) เรามักจะให้รายละเอียดกับความคมชัดทั้งภาพ การใช้เลนส์มุมกว้างสำหรับเก็บรายละเอียดกว้างมาก ๆ เข้าไปในภาพก็เป็นเรื่องที่เหมาะเหมือนกันที่จะให้ภาพเราเห็นถึงความลึกของภาพ หรือถ้าเราไม่มีก็เลือกใช้รูรับแสงที่แคบหน่อยเพื่อที่จะให้ระยะชัดครอบคลุมทั่วทั้งภาพ ถ้าหากว่าแสงเข้ากล้องน้อยเกินไป (หากถ่ายช่วยแสงน้อย และใช้รูรับแสงแคบ) ก็ควรมีขาตั้งด้วย
8.ลองโหมดหน้าชัดหลังเบลอ
เมื่อก่อนโหมดคำนวนหน้าชัดหลังเบลอในมือถือทำออกมาไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ใช้ออกมาแล้วดูหลอก ๆ แปลก ๆ แต่ไม่ใช่กับมือถือยุคนี้ เพราะเดี๋ยวนี้มีการใช้กล้องคู่ ทำให้การทำหลังเบลอออกมาสวยสมจริงมากขึ้น ยิ่งเดี๋ยวนี้มีการใช้เลนส์อีกตัวสำหรับถ่ายคนด้วยแล้ว ผลที่ได้ยิ่งออกมาสวยงามน่าประทับใจมากเลย
9.เลือกใช้พื้นหลังแบบง่าย ๆ
วิธีง่าย ๆ ในการถ่ายภาพที่เหมาะกับมือใหม่คือ ต้องคิดก่อนว่าเราควรจะใส่อะไรเข้าไปในภาพ โดยที่ไม่ทำให้ภาพเกิดความสับสนของเนื้อหาในภาพ ถ้าเป็นไปได้แรก ๆ ให้เลือกใช้พื้นหลังแบบธรรมดา ๆ เลย ธรรมดายังไงล่ะ ก็คือสีพื้นหลังที่ดูเรียบ ๆ ไม่มีรายละเอียดมากวนมาก เพื่อช่วยให้คนหรือแบบในภาพเด่นชัดขึ้น โดยเฉพาะดวงตา ทำให้คนดูมองไปที่ตัวแบบแทนที่จะดูฉากหลังแปลก ๆ ที่โดดเด่นแบ่งตัวแบบนั่นเอง แล้วก็เป็นไอเดียที่ง่ายซึ่งเหมาะกับมือใหม่ที่อาจจะจัดองค์ประกอบที่ซับซ้อนยังไม่ถนัดนัก
10.หาเนื้อหาเด่นของภาพ
บางทีเราเห็นวิว คอนโดมิเนียมสุขุมวิท ที่สวยงามและยิ่งใหญ่ก็อยากจะเก็บภาพไปเสียทั้งหมด แต่พอถ่ายภาพออกมากลับดูไม่เหมือนที่เห็นด้วยตาเปล่า ภาพดูว่าง ๆ โล่ง ๆ ไม่น่าสนใจเอาเสียเลย ฉะนั้นแทนที่เราจะถ่ายแบบจะเก็บทุกอย่าง เราก็เปลี่ยนมาหาจุดเด่นในภาพดีกว่า นอกจากจะทำให้ภาพดูน่าสนใจแล้ว ยังสามารถบ่งบอกความพิเศษของสถานที่ที่เราไปเยือนได้ดีกว่าอีกด้วย และถ้ากล้องมือถือมีปัญหาเรื่องการซูมเข้าไปหาเป้าหมาย เราก็ใช้วิธี CROP ภาพทีหลังก็ได้ เพราะกล้องเดี๋ยวนี้ความละเอียดค่อนข้างสูงมากทีเดียว หรือมือถือหลาย ๆ ตัวอย่าง Galaxy note8 ก็มีกล้องติดมา 2 ตัวสำหรับถ่ายมุมกว้างและแบบ close up เลย
เป็นอย่างไรกันบ้างกับหลักการถ่ายภาพท่องเที่ยวด้วยมือถือแบบคร่าว ๆ หวังว่าคงจะพอเป็นพื้นฐานให้ทุกท่านได้นำไปทดลองฝึกกันได้บ้าง เพราะจริง ๆ หลักการพวกนี้ส่วนใหญ่ก็นำมาจากหลักการถ่ายภาพทั่วไปของกล้องใหญ่นั่นแหละ ฉะนั้น ฝึกกับมือถือในตอนนี้ ไม่แน่ว่าในอนาคต เราอาจจะได้นำไปใช้กับกล้องแบบมืออาชีพก็ได้นะ